หลายท่าคงสับสนกับการเลือกซื้อจักรยานไฟฟ้าในตลาด ซึ่งมีทั้งขายหน้าร้าน ขายผ่อน ขายออนไลน์ วันนี้ทางโพไลเวน มีคำแนะนำดีๆมาฝากเพื่อให้ตัดสินใจง่ายๆ
คู่มือการใช้งานจักรยานไฟฟ้า สกูตเตอร์ไฟฟ้า สามล้อไฟฟ้า Update 1/3/2024 (ต่อ 2/2) การตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆที่ใช้งาน 1. ตรวจสอบว่าโช็คตะเกียบด้านหน้างอหรือเสียหายหรือไม่ ตรวจสอบว่าตะเกียบหน้าชำรุดหรือไม่ กดแฮนด์ขึ้นลงเพื่อดูว่ามีเสียงดังผิดปกติที่เกิดจากการงอของตะเกียบหน้าหรือไม่ หรือถ้ากดไม่ลง(อาการโช็คตาย) หากมีความผิดปกติที่โช้คหน้ากรุณาไปพบตัวแทนจำหน่ายเพื่อตรวจสอบและซ่อมแซม 2. การตรวจสอบเบรก ตรวจสอบว่าระยะห่างฟรีของเบรกอยู่ภายในช่วงที่กำหนดหรือไม่ (10-15 มม.) หากการวัดแสดงว่าไม่ถูกต้องควรปรับเปลี่ยน ผ้าเบรกที่สึกหรออย่างรุนแรง (มากกว่า 2/3) จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่อย่างทันท่วงที หมายเหตุ: หลังจากปรับเบรกแล้ว ต้องแน่ใจว่าได้ขันสกรูยึดสายเบรกให้แน่นเพื่อป้องกันอันตรายขณะขับขี่ ขณะเดียวกัน ให้ดับสวิทซ์ไฟก่อนแล้วจึงเบรก 3. ผลการเบรก การขับรถด้วยความเร็วต่ำบนถนนเรียบแห้ง ให้ใช้เบรกหน้าและหลังตามลำดับเพื่อตรวจสอบผลการเบรกตามลำดับ สังเกต: •หากยังคงไม่เกิดผลเมื่อจับคันเบรกไว้แน่น ให้ปรับระยะห่างระหว่างผ้าเบรกกับขอบล้อ •ควรเพิ่มระยะเบรกเมื่อขับขี่ท่ามกลางสายฝนหรือหิมะ
คู่มือ การใช้งาน ยานพาหนะไฟฟ้า POLAIVEN Rev. 1 Mar 2024 (1/2) (คู่มืออัพเดทล่าสุด สามารถดาวน์โหลดได้www. polaiven.com) เรียนผู้ใช้ยานพาหนะไฟฟ้าของ Polaiven(อ่านว่า "โพไลเว่น") ขอขอบพระคุณที่เลือกรถจักรยานไฟฟ้าแบรนด์โพไลเว่น เมื่อท่านจะใช้ยานพาหนะนี้ โปรดอ่านคู่มือนี้ก่อน ทำความคุ้นเคยกับข้อกำหนดการใช้ งานยานพาหนะ และใช้อย่างถูกต้องตามที่กำหนด เนื่องจากชิ้นส่วนยานพาหนะทั้งหมดของรถจักรยานไฟฟ้า โพไลเว่น นั้น เป็นชิ้นส่วนมาตรฐานที่ กำหนดโดยโรงงาน ที่มีมาตรฐานรับรอง เพื่อให้มั่นใจว่ารถของคุณรักษาสมรรถนะของยานพาหนะได้ดี คู่มือนี้ใช้กับยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภทของเรา ทั้งสกูตเตอร์ จักรยานไฟฟ้า สามล้อไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า ซึ่งบางฟังก์ชั่นอาจไม่มี ในแบบที่ลูกค้าเลือก ซึ่งสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือแนะนำพิเศษมาที่ไลน์ OAของเรา เพื่อปรับปรุงต่อไป และเพื่อให้ผู้ใช้งานใหม่ สามารถศึกษาการใช้งานของสินค้า และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ได้อย่างง่ายดาย เมื่อคุณใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทของเรา ในกรณีบริษัทอื่น ผู้ขายรายอื่นสามารถศึกษาคู่มือของเราได้ เพื่อสร้างโลกนี้ให้มีความปลอดภัย ผู้ใช้งานได้รับความรู้ที่ถูกต้อง สามารถแชร์บทความนี้ หรือคู่มือนี้ได้ เรายินดีเป็นพันธมิตรคู่ค้ากับทุกแบรนด์ทั้งไทยและต่างประเทศ
หลายคนคงชื่นชอบการเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่ลิเธี่ยม บ้างก็ใช้ Lithium Ionธรรมดา บ้างก็เครมว่าเป็นLithium NMC ไม่มากก็น้อย และแหล่งที่มาการซื้อก็หนีไม่พ้นPlatform สีต่างๆที่ใช้กัน ทางAdmin ไม่ได้มีเจตนาจะโจมตีผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่มีความซื่อสัตย์ เพียงแต่ต้องการให้ความรู้เพื่อที่คนไทย จะได้ไม่เป็นเหยื่อของผู้ผลิตหรือแม่ค้าที่ขายโดยไ่ม่มีความรู้ เมื่อได้ศึกษาแบตเตอรี่กลุ่มที่มีขายในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับมือใหม่ ที่ท่านจะไม่ได้ตรงตามสเปคการใช้งาน กำลังวัตต์ไม่ถูกต้อง บางเจ้าเกินเป็น 10เท่า บางเจ้าไม่มีBMS บางเจ้าเป็นของเก่าชาร์ตไม่เข้า บางเจ้าไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงแบตไหม้ โดยทางโพไลเวน ได้แกะการแพคแบตเพื่อศึกษาแบตเตอรี่พบว่า กลวิธีที่ทางร้านค้าตุกติกมีดังนี้ 1. แจ้งว่าแบตเป็นขนาด 36V 36000 mAh(หรือต้องเท่ากับ 36Ah) ซึ่งแพคมาเป็นลักษณะยาวๆ เมื่อนับจำนวนก้อนที่แพคแล้วพบว่า แพคมาเพียง 20 ก้อน(โดยปกติแบตเตอรี่ลิเธี่ยมขนาด 18650 นั้น (จะมีความจุสูงสุดในตลาดไม่เกิน 3000Ah) โดยเฉลี่ยที่ขายในท้องตลาดนั้นเมื่อใช้เครื่องชาร์ตแบตเตอรี่รายเซลล์ เมื่อทำการDischarge(การนำประจุไฟออกจากแบตเตอรี่) จะได้อยู่ประมาณ 1,800-2,500mAh บางรายแย่กว่านั้น(กลุ่มต่ำกว่ามาตรฐาน) นั่นเปลว่าถ้าแบตเตอรี่20ก้อนทำการแพคระบบ36V (10S2P) จะมีความจุไม่เกิน!!! 3,600-5,000mAh เท่านั้น ซึ่งจะไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ที่36000mAh และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ลูกค้าบางคนไม่ทราบ จึงบอกว่าใช้ได้ดี แต่ความจริงแบตหมดไวมาก 2. แจ้งว่าเป็นขนาด 48V 10Ah แต่ความจุจริง 6Ah โดยจะทำราคาให้ถูกและใช้จำนวนก้อนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งแล้วแต่ยี่ห้อ หรือไม่ก็แจ้งขนาดเซลล์ภายในแบตเตอรี่เป็นขนาด 21700 แต่ใช้แบตที่แพคจริงเป็น 18650 (กรณีขนาดแบตลิเธี่ยมที่ 21700นั้น ความจุสูงสุดในปัจจุบันที่ขายในท้องตลาดจะอยู่ประมาณ 4-5 Ah เมื่อพิสูจน์โดยผ่าพลาสติดหดสีน้ำเงินพบว่า ใส่แบต18650 แพค เป็นลักษณะ 13S3P นับรวมได้ 39 ก้อน และในแต่ละก้อนเขียนชัดเจนว่าเป็นขนาด 2000mAh(2Ahต่อก้อน) ซึ่งเมื่อแพคแล้วจะได้ความจุไม่เกิน 6Ahนั่นเอง ดังนั้นก่อนคิดจะซื้อแบตเตอรี่ลิเธี่ยม แนะนำให้ซื้อกับผู้ที่ติดต่อได้จริง มีความน่าเชื่อถือ ซื้อจากโรงงานแพคแบตเตอรี่ หรือช่างผู้ชำนาญการที่รับผิดชอบ ของถูกไม่มีดีแน่นอน แต่ของแพงก็ใช่ว่าจะดีที่สุด
จักรยานไฟฟ้าบางรุ่นมีการออกแบบเผื่อสเปค สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็ว ตามกำลังวัตต์ของฮับมอเตอร์ ซึ่งโดยมากจะล็อคความเร็วไว้ เนื่องจากกฎหมายแต่ละประเทศ หรือการรับผิดชอบด้านความปลอดภัย ที่อาจส่งผลตามมา ซึ่งการเพิ่มความเร็วเอง โดยมากทางโรงงานผู้ผลิตจะไม่ได้ใส่ไว้ในคู่มือ ต้องถามในส่วนฝ่ายเทคนิคและการออกแบบ
จักรยานไฟฟ้าโพไลเวน อยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆ และการเลือกซื้อจักรยาน / จักรยานไฟฟ้าให้เหมาะสมแต่ละวัย ในวัย6เดือน-1ปี เป็นวัยที่เริ่มคลานเริ่มตั้งตัวนั่งและเริ่มเดิน พัฒนาการของเด็ก
สินค้าของโพไลเวนเราแบ่งกลุ่มตามการใช้งานและช่วงวัยที่เหมาะสมดังนี้
หลายท่านเริ่มสนใจสินค้าของโพไลเว่น ได้โทรมาสอบถาม ผ่านช่องทางต่างๆ และพบว่าสินค้าของโพไลเว่นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เสริม. อุปกรณ์อะไหล่สำหรับงานซ่อม. อุปกรณ์งานDIY รวมถึงสินค้าหายากจากต่างประเทศ ซึ่งมีมากกว่า1000SKU และมีกลุ่มยานพาหนะไฟฟ้ากว่าทั้งสกูตเตอร์ จักรยานไฟฟ้า สามล้อไฟฟ้า จักรยานธรรมดา. รถบังคับเด็ก รวมกว่า100แบบ ซึ่งมีหลายรุ่นที่สั่งซื้อได้ช่องทางเดียวที่ศูนย์บริการหรือช่องทางแชทเท่านั้น เนื่องจากทางโพไลเวนเราให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพหลังการขายเป็นสำคัญ. การออกขายสินค้าแต่ละชิ้นจะมีการรับประกันตัวสินค้า และผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของโพไลเวน. มีการทดสอบการใช้งานจริงก่อนการขาย และลดความเสี่ยงในเรื่องมาตรฐานการประกอบเองโดยลูกค้า. ซึ่งเราก็เชื่อมั่นว่าลูกค้าก็สามารถทำได้เอง. แต่เราอยากให้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง. คือ. ความใส่ในทุกรายละเอียดและขายความเป็นจริงของสินค้ามากที่สุด โดยทางโพไลเวนทำงานร่วมกับบริษัทคู่ค้าเพื่อพัฒนาสินค้าของเรา. อย่างไม่หยุดยั้ง. และมีนวัตกรรมใหม่ๆ. ที่จะตอบโจทย์ผู้ที่สนใจสินค้าของเราเป็นอย่างมืออาชีพ
หลายๆครอบครัว ต่างหากิจกรรมเสริมทักษะ ประสบการณ์ และมีช่วงเวลาที่มีความสุข กับบุตรหลานของท่าน(ขอเรียกว่าน้องๆละกันนะ) ที่จะเติบโตในแต่ละช่วงวัย การขี่จักรยาน หรือยานพาหนะไฟฟ้านั้นก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเช่นกัน ทางแอดมินจะแบ่งอายุเป็นช่วงๆดังนี้ 1) ช่วง0-6เดือน ในช่วงนี้บุตรหลานของท่านจะเริ่มฝึกพลิกตัวได้ เริ่มพยายามนั่ง พยายามยืนเกาะ กล้ามเนื้อต่างๆกำลังพัฒนา และเริ่มสร้างตัวตนว่าใครเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง ในช่วงนี้ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ยังไม่ควรหายานพาหนะใดๆ และระวังน้องกลิ้งตกเตียง หาเบาะนุ่มๆรองพื้น และนอนเตียงเตี้ย อาจเอาเตียงออกให้เหลือแต่ฟูกหรือที่นอนเด็กแบบมีคอกกั้นที่สูงพอ มีโมบายที่มีเสียงเพลงคอยกล่อมจะเหมาะสม(เริ่มผิดหัวข้อบทความ กลับมาที่วัยถัดไป) 2) ช่วง6-12 เดือน ช่วงวัยนี้ ยานพาหนะของเค้า คือ รถเข็นช่วยเดิน ไม่ใช่รถเข็นเด็กเล่นที่ใส่ผักผลไม้ขายของเล่นน้า เป็นรถเข็น4ล้อ ที่เด็กๆจะเข็นเพื่อฝึกเดิน พอเมื่อยก็นั่งเล่นของเล่นที่อยู่หน้ารถเข็น ไม่แน่นำให้ใช้รถเด็กที่เด็กเข้านั่งตรงกลาง เนื่องจากมีหลายเหตุการที่น้องๆพาตัวเองไปในจุดเสี่ยง และเมื่อเล่นรถเข็นเด็กนอกบริเวณบ้าน ให้ล็อคหน้าบ้านด้วยทุกครั้งแม้ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านก็ตาม 3)ช่วงวัย1-2.5ปี ในวัยนี้น้องๆเค้าจะเริ่มเดินได้แล้ว การใช้รถเด็กไฟฟ้า ก็ดูน่ารักดี แต่เค้าจะยังบังค้บไม่เป็น ชนกำแพงบ้างเป็นเรื่องปกติที่เค้าจะสร้างสรรค์วิธีเล่นของเค้า และบางคนก็จะหาที่เก็บของรักของเค้า ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา ของเล่น ผ้าห่ม บล็อคไม้ เอาติดรถไปด้วย ถ้าใครมีบุตรหลานหลายคน การมียานพาหนะนี้ก็ดูจะเข้าท่า 4) 2.5-5ขวบ ช่วงวัยนี้ น้องๆจะสามารถเริ่มขี่บาลานซ์ไบค์ได้แล้ว เนื่องจากขาจะเริ่มถึง และรู้วิธีควบคุมมือและเท้าให้มีจังหวะสัมพันธ์กัน หากใครอยู่โซนกรุงเทพ ปริมณฑล สามารถหาที่เล่นบาลานซ์ไบค์ได้ฟรีหลายที่เลย(เล่นที่ศูนย์บริการโพไลเวนของเราก็ได้น้า) ซึ่งในวัยนี้หากครอบครัวไหนฝึกบาลานซ์ไบค์ให้น้องๆเป็น ก็จะสามารถปั่นจักรยาน2ล้อได้ทันที ไม่ต้องใช้4ล้อเหมือนวัยพวกเรา (เพราะบาลานซ์ไบค์เกิดขึ้นมาและเป็นที่นิยมช่วง10ปีนี้เอง 5) ช่วง5-8ขวบ เราพยายามหายานพาหนะไฟฟ้าที่จะพัฒนาความสามารถน้องๆ ก็จะมีสกูตเตอร์ขนาดเล็กที่พอเล่นได้ เอาไว้ให้คุณแม่ พี่สาว พาน้องๆไปเล่นที่สวนสาธารณะ คุณแม่จะได้ไม่เหนื่อยที่ต้องเดินไกลมาส่วนกลางหมู่บ้าน หรือสวนสาธารณะชุมชน แต่แอดมินก็ยังเชียร์จักรยานธรรมดา หรือจักรยาน4ล้อนี่แหละ เพราะช่วงนี้การฝึกทรงตัวได้มีความสำคัญที่จะเป็นทักษะการเอาตัวรอด ความอดทน ความพยายามมุ่งสู่เป้าหมาย และลดการพึ่งพิงคนอื่นได้ในระยะยาว และตอกย้ำความสำเร็จว่า “หนูทำได้แล้วครับ/ค่ะ” 6) ช่วงวัย9-12ปี ช่วงวัยนี้กล้ามเนื้อทุกส่วนผสานสัมพันธ์กับสมองอย่างเต็มที่แล้วและเริ่มตัดทักษะ จิตใต้สำนึก ที่ไม่ได้ฝึกและไม่ได้ใช้ออก และเริ่มสร้างเอกลักษณ์ตนเองให้แตกต่างหรือมีไดดอลในดวงใจ การใช้สกูตเตอร์ไฟฟ้าในรุ่นขนาดเล็ก-กลาง ก็จะช่วงพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพื่อนๆในกลุ่มของเขา มีความเร็วพอเหมาะ ในวัย13-18ปี วัยนี้จะเริ่มใช้จักรยานไฟฟ้าได้แล้ว แต่ควรฝึกซ้อมก่อนและปฏิบัติกฎหมายด้านความปลอดภัยอย่างเครืงครัด…..ป แล้วพบกันใหม่ตอนที่2
การบำรุงรักษายานพาหนะไฟฟ้า สามารถทำได้เองเบื้องต้น. เพื่อยืดอายุของยานพาหนะไฟฟ้า. เริ่มตั้งแต่การดูแลทุกวัน. เมื่อเจอฝนตกก็ควรเช็คทันที. ควรมีผ้าคลุมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อป้องกันฝนและแดด ควรหมั่นฉีดน้ำมันหล่อลื่น. เพื่อกันอุปกรณ์เสียดสี วันนี้โพไลเว่น. มีบทความดีๆอยากแบ่งปันประสบการณ์ให้ทุกท่าน. หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสนุกไปกับการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าของเรา
การใช้จักรยานไฟฟ้าที่คนส่วนใหญ่มักลืมวิธีใช้
ประเภทของแบตเตอรี่ที่ใช้ในจักรยานไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า